ประวัติฟุตบอล
ฟุตบอล (Football) หรือซอคเก้อร์ (Soccer) เป็นกีฬาที่มีผู้สนใจที่จะชมการแข่งขันและเข้าร่วมเล่นมากที่สุดในโลก
ชนชาติใดเป็นผู้กำเนิดกีฬาชนิดนี้อย่างแท้จริงนั้นไม่อาจจะยืนยันได้แน่นอน
เพราะแต่ละชนชาติต่างยืนยันว่าเกิดจากประเทศของตน
แต่ในประเทศฝรั่งเศสและประเทศอิตาลี ได้มีการละเล่นชนิดหนึ่งที่เรียกว่า “ซูเลอ” (Soule) หรือจิโอโค เดล คาซิโอ (Gioco Del Calcio) มีลักษณะการเล่นที่คล้ายคลึงกับกีฬาฟุตบอลในปัจจุบัน
ทั้งสองประเทศอาจจะถกเถียงกันว่ากีฬาฟุตบอลถือกำเนิดจากประเทศของตน
อันเป็นการหาข้อยุติไม่ได้ เพราะขาดหลักฐานยืนยันอย่างแท้จริง ดังนั้น
ประวัติของกีฬาฟุตบอลที่มีหลักฐานที่แท้จริงสามารถจะอ้างอิงได้
เพราะการเล่นที่มีกติกาการแข่งขันที่แน่นอน
คือประเทศอังกฤษเพราะประเทศอังกฤษตั้งสมาคมฟุตบอลในปี พ.ศ. 2406 และฟุตบอลอาชีพของอังกฤษเกิดขึ้นในปี พ.ศ. 2431
ประวัติกีฬาฟุตบอลในประเทศ
ประเทศไทยเรานั้นได้มีการเล่นฟุตบอลในสมัยต้นรัชกาลที่ 6 เนื่องจากในสมัยรัชกาลที่
5 ได้ส่งลูกหลานและข้าราชบริพารไปเรียนอังกฤษ
จึงได้รับเกมนี้กลับเมืองไทย
และผู้นำฟุตบอล
กลับมายังประเทศไทยคนแรกเมื่อปี
พ.ศ.2440 คือ พระยาธรรมศักดิ์มนตรี (สนั่น เทพหัสดิน ณ อยุธยา)หรือ “ครูเทพ” ผู้แต่งเพลงกราวกีฬา
ซึ่งเป็นเพลงอมตะของไทย
เนื้อเพลงกอร์ปด้วยคุณธรรม
จริยธรรมเพรียบพร้อมไปด้วยน้ำใจนักกีฬาอย่างแท้จริง
การแข่งขันฟุตบอลครั้งแรกเป็นทางการเมื่อวันเสาร์ที่ 2
กุมภาพันธ์
พ.ศ.2443 (ร.ศ.119)
ณ
สนามหลวง
ระหว่างชุดบางกอกกับชุดกรมศึกษาธิการซึ่งเรียกการแข่งขันครั้งนี้ว่า “แอสโซซิ
ประวัติกีฬาฟุตบอลโลก
ฟุตบอลโลก หรือ ฟุตบอลโลกฟีฟ่า (FIFA World Cup) เป็นการแข่งขันฟุตบอลระหว่างประเทศ โดย ฟุตบอลโลก เริ่มครั้งแรกในปี ค.ศ.1930 (พ.ศ.2473) สำหรับผู้ริเริ่มให้มีการแข่งขัน ฟุตบอลโลก ครั้งแรกคือ จูลส์ ริเมท์ (Jules Rimet) เป็นชาวฝรั่งเศส โดยได้เสนอในที่ประชุมของประเทศสมาชิก สหพันธ์ฟุตบอลนานาชาติ เมื่อปี ค.ศ.1902 (พ.ศ.2445) แต่กว่าจะลงตัวและเริ่มจัดขึ้นจริง ๆ คือปี ค.ศ.1930 ซึ่งประเทศที่ได้เกียรติเป็นเจ้าภาพ ฟุตบอลโลก ครั้งแรกได้แก่ ประเทศอุรุกวัย โดยมีประเทศที่เข้าร่วมแข่งขันทั้งหมด 13 ชาติ และประเทศอุรุกวัยก็คว้าแชมป์โลกไปครองได้สำเร็จ ด้วยการเอาชนะประเทศอาร์เจนตินาไป 4-2 ประตู ทั้งนี้ เพื่อเป็นเกียรติแด่ จูลส์ ริเมท์ ถ้วยรางวัลชนะเลิศจึงใช้ชื่อ “ถ้วยจูลส์ ริเมท์”
ฟุตบอลโลก หรือ ฟุตบอลโลกฟีฟ่า (FIFA World Cup) เป็นการแข่งขันฟุตบอลระหว่างประเทศ โดย ฟุตบอลโลก เริ่มครั้งแรกในปี ค.ศ.1930 (พ.ศ.2473) สำหรับผู้ริเริ่มให้มีการแข่งขัน ฟุตบอลโลก ครั้งแรกคือ จูลส์ ริเมท์ (Jules Rimet) เป็นชาวฝรั่งเศส โดยได้เสนอในที่ประชุมของประเทศสมาชิก สหพันธ์ฟุตบอลนานาชาติ เมื่อปี ค.ศ.1902 (พ.ศ.2445) แต่กว่าจะลงตัวและเริ่มจัดขึ้นจริง ๆ คือปี ค.ศ.1930 ซึ่งประเทศที่ได้เกียรติเป็นเจ้าภาพ ฟุตบอลโลก ครั้งแรกได้แก่ ประเทศอุรุกวัย โดยมีประเทศที่เข้าร่วมแข่งขันทั้งหมด 13 ชาติ และประเทศอุรุกวัยก็คว้าแชมป์โลกไปครองได้สำเร็จ ด้วยการเอาชนะประเทศอาร์เจนตินาไป 4-2 ประตู ทั้งนี้ เพื่อเป็นเกียรติแด่ จูลส์ ริเมท์ ถ้วยรางวัลชนะเลิศจึงใช้ชื่อ “ถ้วยจูลส์ ริเมท์”
ข้อ1 สนาม
1.ขนาดสนาม
สนามต้องเป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า ต้องไม่ยาวกว่า 130 หลา หรือไม่สั้นกว่า 100 หลาและไม่กว้างกว่า 100 หลา หรือไม่แคบกว่า 50 หลา
2.การเขียนเส้น
ในสนามต้องเขียนเส้นต่างๆ ดังปรากฏในแผนผังให้ชัดเจน ส่วนกว้างไม่เกิน 5 นิ้ว เส้นด้านยาวทั้งสองข้างเรียกว่า เส้นข้าง เส้นด้านสกัดทั้งสองข้างเรียกว่า เส้นประตู ที่มุมสนามมีธงปักไว้ทุกมุม ให้เขียนเส้นขวางกลางสนามเรียกว่า เส้นแบ่งแดน
ตรงกึ่งกลางของเส้นแบ่งแดนมีจุดศูนย์กลางสนาม
3.เขตประตู
ที่เส้นประตูทั้งสองข้าง ห่างจากเสาประตูออกไปข้างละ 6 หลา ให้เขียนเส้นตรงยาว 6 หลา เข้าไปในสนามให้ได้ฉากกับเส้นประตู แล้วเขียนเส้นจดปลายเส้นทั้งสองขนานกับเส้นประตู เนื่อที่ภายในเขตนี้เรียกว่า เขตประตู
4.เขตโทษ
ที่เส้นประตูทั้งสองข้างห่างจากเสาประตูทั้งสองข้างออกไปข้างละ 18 หลา
เข้าไปในสนามให้ได้ฉากกับเส้นประตู แล้วเขียนเส้นตรงจดปลายเส้นทั้งสองขนานกับเส้นประตู เนื้อที่ภายในเขตนี้เรียกว่า เขตโทษ
5.เขตมุม
จากมุมสนามแต่ละแห่งเป็นจุดกลางให้เขียน ¼ ของวงกลมในสนามด้วยรัศมี
1 หลา
6.ประตู
ประตูต้องมีเสาสองต้นปักตั้งตรงบนเส้นประตู ห่างจากธงมุมสนามเข้ามาเท่าๆกัน จะติดตาข่ายไว้กับเสา
ข้อ2 ลูกบอล
ลูกต้องกลม เปลือกนอกทำด้วยหนัง หรือวัตถุอื่นใดที่ได้รับการยินยอมให้ใช้ ห้ามใช้วัตถุใดที่อาจกระทำให้เป็นอันตรายแก่ผู้เล่น
ข้อ3 จำนวนผู้เล่น
การเล่นฟุตบอล ให้เล่นกันระหว่าง 2 ชุด ชุดหนึ่งมีผู้เล่นไม่เกิน 11 คน โดยให้ผู้เล่นคนหนึ่งเป็นผู้รักษาประตู
ข้อ4 อุปกรณ์ของผู้เล่น
1.ผู้เล่นจะสวมสิ่งหนึ่งสิ่งใดซึ่งจะเป็นอันตรายแก่ผู้เล่นอื่นไม่ได้
2.รองเท้า (หุ้มข้อหรือธรรมดา)
3.ผู้รักษาประตู ควรใช้เครื่องแต่งกายที่มีสีต่างกับผู้เล่นและผู้ตัดสินอย่าง
เด่นชัด
ข้อ5 ผู้ตัดสิน
ผู้ตัดสิน ต้องได้รับการแต่งตั้งเพื่อทำหน้าที่เป็นผู้ตัดสินในการแข่งขันแต่ละครั้ง
ผู้ ตัดสิน มีอำนาจลงโทษผู้กระทำผิด แม้ว่าความผิดนั้นจะได้เกิดขึ้นในขณะพักการเล่นชั่วคราว หรือ ขณะที่ลูกตาย คำตัดสินของผู้ตัดสินในข้อเท็จจริงเกี่ยวกับการเล่นนั้น ให้ถือเป็นเด็ดขาดเพียงเท่าที่เกี่ยวกับผลของการเล่นนั้น
ข้อ6 ผู้กำกับเส้น
ผู้กำกับเส้นทั้งสองคนต้องได้รับการแต่งตั้งให้มีหน้าที่แจ้งว่า
1.เมื่อใดลูกออก
2.ฝ่ายใดมีสิทธิ์ที่จะได้เตะมุม เตะจากประตูหรือทุ่มลูก
3.เมื่อมีการเปลี่ยนตัวผู้เล่น
ข้อ7 ระยะเวลาเล่น
นอกจากจะตกลงกันเป็นอย่างอื่น ให้กำหนดระยะเวลาเล่นเป็นสองตอน
ตอนละเท่าๆกัน ตอนละ 45 นาที ภายใต้เงื่อนไขต่อไปนี้
1.ชดเชยเวลาอันเนื่องจากอุบัติเหตุหรือเหตุอื่นๆที่เสียไปแต่ละตอน
2.เพิ่ม เวลาสำหรับการเตะโทษ ณ จุดเตะโทษให้เสร็จสิ้นไป ถึงแม้ว่าระยะเวลาตามปกติหมดแล้ว จะเป็นในครึ่งเวลาแรกหรือในครึ่งเวลาหลังก็ตาม
ข้อ8 การเริ่มเล่น
1.เมื่อเริ่มเล่น ในการที่จะเลือกแดนหรือเลือกเตะเริ่มเล่นก่อน ให้ตัดสินโดยการเสี่ยง ด้วยการโยนหัว โยนก้อย ฝ่ายที่ชนะการเสี่ยงเป็นผู้มีสิทธิ์ในการเลือกแดนหรือเลือกเตะ
2.เมื่อได้ประตู การเล่นต้องเริ่มต้นใหม่ ในทำนองเดียวกัน โดยผู้เล่นคนหนึ่งของฝ่ายที่เสียประตู เป็นผูิ่มเล่น
3.เมื่อ หมดครึ่งเวลา การตั้งต้นเล่นใหม่หลังจากได้หยุดพักระหว่างครึ่งเวลาแล้ว ให้เปลี่ยนแดนและให้ผู้เล่นคนหนึ่งของชุดฝ่ายตรงข้ามที่มิได้เตะเริ่มเล่นใน ตอนแรก เป็นผู้เตะเริ่มเล่น
ข้อ9 ลูกตายและไม่ตาย
ลูกตาย
1.เมื่อลูกได้ผ่านเส้นประตูหรือเส้นข้างออกไปนอกสนามหมดทั้งลูก ไม่ว่าจะกลิ้งไปบนพื้นสนามหรือลอยไปในอากาศ
2.เมื่อผู้ตัดสินสั่งให้หยุดการเล่น
ลูกไม่ตาย
นับตั้งแต่ได้เริ่มการเล่นเป็นต้นไป ลูกจะอยู่ในการเล่นโดยตลอดจนถึงเลิกการเล่น
ข้อ10 การนับประตู
เมื่อลูกทั้งลูกได้ผ่านเส้นประตูเข้าไปในระหว่างเสาประตูทั้งสองและภาย ใต้คานประตู โดยผู้เล่นฝ่ายรุกไม่ได้ขวางหรือใช้มือหรือแขนทำให้ลูกนั้นเข้าไปในประตู นอกจากผู้รักษาประตูซึ่งอยู่ภายในเขตโทษของตน
เมื่อการเล่นเสร็จแล้ว ฝ่ายที่ได้ประตูมากกว่าเป็นฝ่ายชนะ ถ้าทั้งสองฝ่ายไม่ได้หรือได้ประตูเท่ากัน นับว่า เสมอกัน
ข้อ11 การล้ำหน้า
1.ผู้เล่นจะอยู่ในตำแหน่งล้ำหน้า ถ้าเขาอยู่ใกล้เส้นประตูของคู่ต่อสู้กว่าลูกบอล
2.ผู้เล่นจะถูกตัดสินให้เป็นเล่นล้ำหน้าและจะถูกลงโทษ ถ้าผู้ตัดสินพิจารณาเห็นว่าขณะที่ลูกโดนหรือลูกเล่นโดยผู้เล่นฝ่ายเดียวกัน
3.ผู้เล่นจะยังไม่ถูกตัดสินว่าล้ำหน้า ถ้า
1.เขาเพียงแต่อยู่ในตำแหน่งล้ำหน้าเท่านั้น หรือ
2.เขาได้รับลูกโดยตรงจาการเตะจากประตู การทุ่มจากเส้นข้าง การเตะจากมุม หรือ การปล่อยลูกจากมือโดยผู้ตัดสิน
4.ถ้าผู้เล่นถูกตัดสินให้เป็นเล่นล้ำหน้า ผู้ตัดสินจะให้คู่ต่อสู้ได้เตะโทษโดยอ้อม ณ ที่ซึ่งการละเมิดกติกาได้เกิดขึ้น
ข้อ12 การเล่นที่ผิดกติกาและเสียมารยาท
ผู้เล่นคนใดเจตนากระทำผิดข้อหนึ่งข้อใดใน 9 ข้อ ดังต่อไปนี้
1.แตะ หรือ พยายามจะเตะคู่ต่อสู้
2.ขัดขาคู่ต่อสู้ คือทำหรือพยายามจะทำให้คู่ต่อสู้ล้มลงด้วยการใช้ขา หรือด้วยการหมอบลงข้างหน้าหรือข้างหลัง
3.กระโดดเข้าหาคู่ต่อสู้
4.ชนคู่ต่อสู้อย่างรุนแรง
5.ชนคู่ต่อสู้ข้างหลัง นอกจากคู่ต่อสู้นั้นเจตนากีดกัน
6.ทำร้าย หรือพยายามจะทำร้ายคู่ต่อสู้ หรือถ่มน้ำลายรดคู่ต่อสู้
7.ฉุด ดึง คู่ต่อสู้
8.ผลัก ดัน คู่ต่อสู้
9.เล่นด้วยมือ คือ ทุบ ต่อย ปัด เตะลูกด้วยมือ หรือแขน
ข้อ13 การเตะโทษ
การให้เตะโทษนั้นแยกได้เป็นสองสถาน คือ เตะโทษโดยตรงและเตะโทษโดยอ้อม
ข้อ14 การเตะโทษ ณ จุดโทษ
การเตะโทษ ณ จุดเตะโทษ จะต้องเตะจากจุดโทษและเมื่อก่อนจะเตะผู้เล่นทุกคนนอกจากผู้เตะและผู้รักษา ประตูของฝ่ายรับ ต้องอยู่ในสนามแต่นอกเขตโทษ และให้ห่างจากจุดโทษอย่างน้อย 10 หลา จากจุดเตะโทษ ผู้รักษาประตูของฝ่ายรับต้องยืน บนเส้นประตูระหว่างเสาประตูของตนจนกว่าผู้เตะได้เตะลูกแล้ว
ข้อ15 การทุ่ม
เมื่อลูกทั้งลูกได้ผ่านเส้น ข้างออกไปนอกสนาม ไม่ว่าจะกลิ้งไปบนพื้นสนามหรือลอยไปในอากาศก็ตาม ให้ทุ่มลูก ณ ที่ซึ่งลูกนั้นได้ผ่านเส้นข้างออกไป การทุ่มจะทุ่มลูกไปทางไหนก็ได้ โดยผู้เล่นของฝ่ายตรงข้ามกับผู้ที่ถูกลูกนั้นเป็นครั้งสุดท้ายเป็นผู้ทุ่ม ผู้ทุ่มในขณะที่ปล่อยลูกออกไป ต้องหันหน้าเข้าสู่สนามและเท้าทั้งสองต้องอยู่บนเส้นข้าง หรืออยู่บนพื้นสนามนอกเส้นข้าง ผู้ทุ่มต้องใช้มือทั้งสองทุ่มและจะต้องปล่อยให้ลูกออกจากด้านหลังและให้ เหนือศีรษะของตนจะเล่นลูกนั้นได้ทันทีในเมื่อลูกเข้าไปในสนาม แต่ผู้ทุ่มจะเล่นลูกที่ตนทุ่มไปนั้นอีกไม่ได้จนกว่าลูกทุ่มนั้นจะได้ถูกผู้ เล่นคนใดคนหนึ่งเสียก่อน การทุ่มลูกตรงเข้าประตูทีเดียวไม่นับเป็นประตู
ข้อ16 การเตะจากประตู
เมื่อลูกทั้งลูกได้ผ่านเส้นประตูออกไปนอกสนาม นอกจากจะได้ผ่านไปในระหว่างเสาประตูภายใต้คานประตู ไม่ว่าจะกลิ้งไปบนพื้นสนามหรือลอยไปในอากาศก็ตาม โดยฝ่ายรุกเป็นผู้ถูกลูกนั้นเป็นครั้งสุดท้าย ให้ฝ่ายรับเป็นผู้นำลูกไปวางเตะภายในเขตประตูทางด้านที่ใกล้ลูกนั้นและต้อง เตะครั้งเดียวให้ลูกออกนอกเขตโทษ ถ้าเตะครั้งเดียวลูกไม่ออกนอกเขตโทษ ผู้เตะเมื่อเตะลูกแล้วจะเล่นลูกนั้นซ้ำอีกไม่ได้จนกว่าลูกจะได้ถูกผู้เล่นคน ใดคนหนึ่งเสียก่อน
ข้อ17 การเตะจากมุม
เมื่อลูกทั้งลูกได้ผ่าน เส้นประตูออกไปนอกสนาม นอกจากจะผ่านไปในระหว่างเสาประตูไม่ว่าจะกลิ้งไปบนพื้นสนามหรือลอยไปในอากาศ ก็ตาม โดยฝ่ายรับเป็นผู้ถูกลูกนั้นเป็นครั้งสุดท้าย ให้ฝ่ายรุกนำลูกไปวางเตะภายในเขตมุม ณ ธงมุมใกล้กับที่ลูกได้ออกไปและต้องไม่ทำให้คันธงเคลื่อนที่ ในการเตะจากมุมนี้ ถ้าเตะทีเดียวลูกตรงเข้าประตูให้นับว่าได้ประตู ผู้เล่นฝ่ายตรงข้ามกับผู้เตะจากมุมนั้นจะเข้ามาอยู่ใกล้ลูกในขณะที่ผู้เตะ กำลังจะเตะลูกน้อยกว่า 10 หลา ไม่ได้เว้นเสียแต่ผู้เตะจะได้เตะให้ลูกไปได้ไกลอย่างน้อยเท่ากับระยะรอบวง ของลูกจึงจะเล่นต่อไปได้ จะเล่นลูกนั้นซ้ำอีกไม่ได้จนกว่าลูกนั้นจะได้ถูกหรือเล่นโดยผู้เล่นคนใดคน หนึ่งเสียก่อน
ขอบคุณแหล่งที่มา
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น